อำนาจหน้าที่ที่สำคัญ

อำนาจหน้าที่ของเทศบาล

1.ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 (เฉพาะอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล)

1) มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังนี้

1.รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2.ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
3.รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและปฏิกูล
4.ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
5.ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
6.ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
7.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
8.บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9.หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

2) มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังนี้

1.ให้มีน้ำสะอาด หรือการประปา
2.ให้มีโรงฆ่าสัตว์
3.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
4.ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
5.บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
6.ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
7.ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
8.ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
9.เทศพาณิชย์

2.ตามพระราบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

1) มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้

(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
(5) การสาธารณูปการ
(6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9) การจัดการศึกษา
(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14) การส่งเสริมกีฬา
(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
(24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(25) การผังเมือง
(26) การขนส่งและการนวิศวกรรมจราจร
(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28) การควบคุมอาคา
(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์การพัฒนาเทศบาล

1. วิสัยทัศน์การพัฒนา

เมืองปัวสะอาดงามปลอดภัย   หลากหลายทางวัฒนธรรม
พัฒนาการศึกษาคู่ธรรมาภิบาล   คุณภาพชีวิตและสังคมสงบสุข
มุ่งสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2. พันธกิจ

2.1 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ และวางระบบผังเมืองชุมชนรองรับการพัฒนาเมืองน่าอยู่
2.2 ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชน และเสริมสร้างศักยภาพด้านเศรษฐกิจ การค้า การเกษตร และการท่องเที่ยว สู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
2.3 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา และการสาธารณสุขที่ดี เสริมสร้างส่วนร่วมในการพัฒนานำไปสู่สังคมสงบสุข
2.4 ส่งเสริมสนับสนุนการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
2.5 ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการ และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
2.6 ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาล

3. เป้าประสงค์

3.1 ระบบโครงสร้างพื้นฐานดี เส้นทางคมนาคมได้มาตรฐาน สิ่งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการทั่วถึง มุ่งสู่เมืองน่าอยู่
3.2 ชุมชนมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีอาชีพและรายได้ เสริมสร้างความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นอย่างสมดุล
3.3 พัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต การศึกษา สุขอนามัย และความปลอดภัยของประชาชน และเสริมสร้างศักยภาพในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
3.4 อนุรักษ์ บำรุงรักษา และฟื้นฟูความหลากหลายด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีการสืบสานคงอยู่ต่อไป
3.5 บูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
3.6 องค์กรมีการบริหารจัดการและการบริการที่ดี และทันต่อการเปลี่ยน แปลงของสังคมโลก

——————————————