แนะนำเทศบาล

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาล

๑.ข้อมูลทั่วไป

.๑ ด้านกายภาพ

(๑) ลักษณะที่ตั้ง

ตั้งอยู่เลขที่ ๔๐๐ หมู่ที่ ๘ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดน่าน ประมาณ๖๐กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒๐.๕๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๒,๘๑๒.๕๐ไร่ เป็นเทศบาลขนาดกลาง ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลบ้านปรางค์ เป็นเทศบาลตำบลบ้านปรางค์เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.๒๕๔๒ และได้ยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลปัวเข้ากับเทศบาลเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลบ้านปรางค์ เป็นเทศบาลตำบลปัว เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

(๒) อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ        ติดต่อกับ ตำบลไชยวัฒนา, ตำบลสถาน, ตำบลเชียงคาน (อ.เชียงกลาง)
ทิศใต้           ติดต่อกับ ตำบลศิลาแลง, ตำบลป่ากลาง, ตำบลจอมพระ(อ.ท่าวังผา)
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ ตำบลวรนคร
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ ตำบลแงง, ตำบลเจดีย์ชัย

(๓) เขตการปกครอง

เขตการปกครองคลอบคลุม ๔ ตำบล ๑๓หมู่บ้าน ประกอบด้วย
(๑) ตำบลปัว ๘ หมู่บ้าน (บ้านขอน, บ้านป่าหัด, บ้านปรางค์, บ้านร้อง, บ้านป่าลาน, บ้านไร่รวงทอง, บ้านปรางค์พัฒนา ๑, บ้านปรางค์พัฒนา ๒)
(๒) ตำบลวรนคร ๓ หมู่บ้าน (บ้านแก้มราษฎร์พัฒนา, บ้านแก้ม, บ้านสวนดอก)
(๓) ตำบลสถาน ๑ หมู่บ้าน   (บ้านนาป่าน)
(๔) ตำบลไชยวัฒนา ๑ หมู่บ้าน (บ้านต้นแหลง)

.๒ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

(๑) การคมนาคม                

การคมนาคม ติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ได้มีการก่อสร้าง ซ่อมแซม และปรับปรุงถนนให้ได้มาตรฐาน มีความสะดวกและปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย

๑) ทางหลวงแผ่นดินสายน่าน – ทุ่งช้าง (หมายเลข ๑๐๘๐)
๒) ทางหลวงแผ่นดินสายปัว – น้ำยาว (หมายเลข ๑๐๘๑)
๓) ทางหลวงแผ่นดินสายปัว – บ่อเกลือ (หมายเลข ๑๒๕๖)
๔) ถนนภายในหมู่บ้าน

(๒) การสาธารณูปโภค

การประปา มีการประปาส่วนภูมิภาค หน่วยบริการสาขาปัว จำนวน ๑ แห่ง
-การไฟฟ้า มีสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอปัว จำนวน ๑ แห่ง

(๓) การสื่อสาร

-โทรศัพท์ มีบริษัททศทคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ศูนย์บริการลูกค้าสาขาปัว
-ไปรษณีย์ มีที่ทำการไปรษณีย์ปัว จำนวน ๑ แห่ง
-หอกระจายข่าว
      -มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน จำนวน ๑๓ แห่ง
-สถานีวิทยุ จำนวน ๒ แห่ง
      -สถานีของวิทยาลัยการอาชีพปัว
      – สถานีวิทยุขุนปัว

.๓ ด้านเศรษฐกิจ

(๑) รายได้ของประชากร   รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของประชากรในเขตเทศบาล แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้

data-1หมายเหตุ:   ข้อมูล จปฐ.ปี ๒๕๕๗

(๒) การเกษตรกรรม          

(๒.๑) พื้นที่การเกษตรมีประมาณ ๖,๔๑๖ ไร่ แยกเป็นพื้นที่ทำนา ประมาณ ๓,๕๓๑ ไร่ พื้นที่ทำสวน ๒,๘๘๕ ไร่ ปลูกพืชผลที่สำคัญ เช่น พืชผัก,ไม้ผล ,ไผ่รวก ,สักทอง ,ข้าวไร่ ,ข้าวโพด ,ถั่วลิสง

(๓) การพาณิชยกรรมและบริการ

(๓.๑) สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม

๑) สถานีบริการน้ำมัน—————–จำนวน ๗ แห่ง
๒) ซูปเปอร์มาเก็ต/ห้างสรรพสินค้า  จำนวน ๖ แห่ง
๓) ตลาดสด—————————–จำนวน ๔ แห่ง
๔) ร้านค้าทั่วไป————————-จำนวน ๒๖๐ แห่ง
๕) สหกรณ์การเกษตรปัว————–จำนวน   ๑ แห่ง
๖) โรงบ่มใบยา————————–จำนวน   ๑ แห่ง

(๓.๒) สถานประกอบการเทศพาณิชย์

๑) โรงแปรรูปเนื้อสัตว์           จำนวน ๑ แห่ง

(๓.๓) สถานประกอบการด้านบริการ

๑) โรงแรม——————จำนวน ๙ แห่ง
๒) ห้องพัก/เกสต์เฮ้าท์—-จำนวน ๔ แห่ง
๓) ห้องเช่า——————จำนวน ๔๙ แห่ง
๔) ธนาคาร——————จำนวน ๕ แห่ง
๕) สถานที่จำหน่ายอาหารจำนวน ๙๒ แห่ง

(๔) การอุตสาหกรรม

๑.โรงงานอุตสาหกรรมทำเครื่องเงิน   จำนวน ๑ แห่ง
๒. อุตสาหกรรมครัวเรือน อาทิ ทอผ้า จักสาน   ผลิตน้ำดื่ม/น้ำแข็ง

(๕) การปศุสัตว์

การปศุสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ที่ใช้ทุนน้อย และสัตว์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่ และการเลี้ยงไม่ได้จำกัดพื้นที่เป็นกิจจะลักษณะ เป็นการเลี้ยงตามพื้นที่ว่างเปล่า หรือพื้นที่หลังฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการเสริมรายได้และใช้บริโภคในครัวเรือน

(๖) การท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลถือเป็นส่วนหนึ่งในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองปัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความหลากหลายและคงความสวยงามตามแบบฉบับของศิลปะล้านนาอยู่หลายแห่ง อาทิ
     ๑.แหล่งเที่ยวด้านโบราณสถาน เช่น วัดพระธาตุเบ็งสกัด วิหารวัดต้นแหลง วัดปรางค์ วัดร้อง วัดนาป่าน วัดสวนดอก วัดราชสีมา วัดป่าลาน วัดป่าหัด
     ๒.แหล่งท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทลื้อ (บ้านขอน)   บ้านโบราณพื้นเมือง (บ้าป่าหัด)
     ๓.แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ต้นดิกเดียม (วัดปรางค์) ต้นผึ้งหลวง (บ้านปรางค์)   ต้นสลีเมือง (บ้านนาป่าน)

.๔ ด้านสังคม
data-2

(๑) ประชากรสถิติของประชากรในเขตเทศบาล เปรียบเทียบย้อนหลัง ๕ ปี
(๒) ศาสนามีผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๙ %   ของจำนวนประชากรในเขตเทศบาล มีวัด จำนวน ๑๐วัด ประกอบด้วย วัดราชสีมา,วัดป่าหัด , วัดปรางค์ , วัดร้อง ,วัดป่าลาน , วัดไร่รวงทอง , วัดพระธาตุเบ็งสกัด ,วัดสวนดอก ,วัดนาป่าน ,วัดต้นแหลง
(๓) วัฒนธรรมประเพณี อาทิ งานวันสงกรานต์ ,งานแห่เทียน ,งานวันลอยกระทง,บวงสรวงพญาผานอง,งานไทลื้อ,งานสี่เป็งไหว้สาฯ,งานบวงสรวงพระธาตุ ฯลฯ
(๔) การศึกษา

๑)โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน ๘โรง ประกอบด้วย

data-3

๒) วิทยาลัยการอาชีพปัว เปิดสอนระดับชั้น ปวช.-ปวส.
๓) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว (ระดับประถม-มัธยม)
๔) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปัว (อนุบาล ๒-๕ ขวบ)
๕)โรงเรียนอนุบาล (ภาคเอกชน ) จำนวน ๒แห่ง
๑. ร.ร.อนุบาลอิมมานูเอล              ๒. ร.ร.อนุบาลปัวอินเตอร์คิดต์

(๕) การกีฬานันทนาการ/พักผ่อน
๑) สนามกีฬาเอนกประสงค์ ๒แห่ง           ๔) สนามตะกร้อ ๒แห่ง
๒) ลานกีฬา/สนามเปตอง   ๑๓แห่ง         ๕) ห้องสมุดประชาชน ๑แห่ง
๓) สนามเทนนิส   ๑แห่ง                       ๖) สวนสาธารณะ ๑แห่ง

(๖) การสาธารณสุข
๑) โรงพยาบาล ๑แห่ง                    ๔) ร้านขายยาแผนปัจจุบัน ๔แห่ง
๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕แห่ง        ๕) ร้านขายยาแผนโบราณ ๑ แห่ง
๓) คลีนิคเอกชน ๕แห่ง                ๖)โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลปัว

(๗) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๑) รถยนต์ดับเพลิง   ๒คัน                    ๖) อปพร. ๑๘๖ คน
๒) รถบรรทุกน้ำ   ๓   คัน                   ๗) รถยนต์ตรวจการณ์สาธารณภัย   ๑ คัน
๓) รถกระเช้า     ๑   คัน                      ๘) รถจักรยานยนต์ตรวจการณ์ ๑ คัน
๔) รถยนต์กู้ภัย   ๒   คัน                     ๙) รถกู้ชีพ-กู้ภัย  ๑ คัน
๕) พนักงานดับเพลิง   ๑๕คน

(๘) การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
– สถานีตำรวจตำรวจภูธรปัว

๑.๕ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(๑) ป่าชุมชน   จำนวน ๔ แห่ง
(๒) แหล่งน้ำ
      ๑) ลำน้ำ ๒ แห่ง ได้แก่ ลำน้ำขว้าง และลำน้ำปัว
      ๒) ลำห้วย ๗ แห่ง ได้แก่ ห้วยปรางค์,ห้วยเสือ,ห้วยโอ้ม,ห้วยน้ำกิว,ห้วยทรายขาว,ห้วยน้ำฮาว,ห้วยน้ำแงง
(๓) ที่ดิน -มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๘๑๒.๕๐ ไร่ โดยเป็นพื้นที่การเกษตรมีประมาณ ๖,๔๑๖ ไร่ แยกเป็นพื้นที่ทำนา ประมาณ ๓,๕๓๑ ไร่ พื้นที่ทำสวนประมาณ ๒,๘๘๕ ไร่ และที่เหลืออีกประมาณ ๖,๓๙๖.๕๐ ไร่ เป็นพื้นที่ที่พักอาศัย พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม สถานที่ราชการ และอื่นๆ
(๔) ขยะมูลฝอย
      ๑) ปริมาณขยะที่เก็บได้และนำไปกำจัด ประมาณ ๗ตัน/วัน
      ๒) รถยนต์ที่ใช้ในการจัดเก็บขยะ จำนวน ๔คัน
      ๓) พนักงานเก็บขนขยะ จำนวน ๑๘ คน

๑.๖ ด้านการเมืองการบริหาร

 ๑.ผู้บริหารท้องถิ่น
      – นายกเทศมนตรี ๑ คน
      – รองนายกเทศมนตรี ๒ คน
      – ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ๑ คน
      – เลขานุการนายกเทศมนตรี ๑ คน
๒.สมาชิกสภาท้องถิ่น จำนวน ๑๒ คน
๓.ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ประมาณ   ๘,๘๕๖ คน
๔.หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง จำนวน ๑๓ หน่วย

๒.ศักยภาพของเทศบาล

๒.๑ อัตรากำลังบุคลากร๑๐๑คน
      -พนักงานเทศบาล               ๔๔ คน
      -พนักงานจ้างตามภารกิจ   ๕ คน
      -พนักงานครูเทศบาล          ๕ คน
      -ลูกจ้างประจำ                      ๑๒ คน
      -พนักงานจ้างทั่วไป            ๓๕ คน

๒.๒ การคลังของเทศบาล

สถิติแสดงฐานะทางการคลังของเทศบาล เปรียบเทียบย้อนหลัง ๕ปี

data-4 

๒.๓ โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ